พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติอู่ทอง
อาคารที่ ๑ จัดแสดงอารยธรรมเมืองอู่ทองสมัยก่อนประวัติศาสตร์ถึงสมัยประวัติศาสตร์วัฒนธรรมทวารว ดี (พุทธศตวรรษที่ ๕-๑๖) ซึ่งเคยเป็นเมืองท่าติดต่อค้าขายกับชาวต่างชาติ รับรูปแบบศาสนา ศิลปะแบบอมราวดีและแบบคุปตะจากอินเดีย และศิลปะศรีวิชัยจากภาคใต้ เป็นศูนย์กลางของศาสนาพุทธและศาสนาพราหมณ์ โบราณวัตถุที่จัดแสดง ได้แก่ เครื่องมือหินขัด ภาชนะดินเผา ลูกปัดแก้ว เหรียญกษาปณ์ ประติมากรรมดินเผารูปพระสงฆ์ ๓ องค์อุ้มบาตร พระพุทธรูปปูนปั้นนาคปรกศิลปะแบบอมราวดี ธรรมจักรจารึกแผ่นทองแดง ฯลฯ อาคารที่ ๒ จัดแสดงประวัติศาสตร์เมืองอู่ทองในสมัยอยุธยา พุทธศตวรรษที่ ๒๐-๒๔ การบูรณะซ่อมแซมเจดีย์หมายเลข ๑ ในสมัยพระเจ้าปราสาททอง แห่งกรุงศรีอยุธยา (พ.ศ. ๒๑๗๓-๒๑๙๘) โบราณวัตถุที่จัดแสดง ได้แก่ พระพุทธรูป พระพิมพ์ ขันสำริด ครอบเต้าปูนสำริด กังสดาล และกระปุกลายครามของจีน ฯลฯ อาคารที่ ๓ เป็นสถาปัตยกรรมเรือนลาวโซ่ง จัดแสดงขนบธรรมเนียม ประเพณี เครื่องมือ เครื่องใช้ และการทอผ้า
ข้อมูลจาก : tat.or.th